ห้ามไม่ได้ก็ 'ต้องสอน'
ภัยเด็กติดเกม
กรณีปัญหา “เด็กติดเกม” ทาง “สกู๊ปหน้า 1
เดลินิวส์” นำเสนอไปตอนหนึ่งแล้วสำหรับข้อสังเกตว่าติดหรือไม่? ติดถึงขั้นต้องแก้ไขหรือยัง ? และแนวทางช่วยเด็กให้พ้นภัยติดเกม
!! โดยเป็นข้อมูลคำแนะนำของศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต ซึ่งในช่วงที่เหล็กกำลังร้อน เพิ่งมีข่าวครึกโครมกรณีเด็กเลียนแบบเกมจนก่อคดีจี้-ฆ่า
ก็น่าจะมาดูเรื่องนี้กันเพิ่มอีก
เป็นข้อมูลคำแนะนำที่สื่อสารไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและจะให้ดีควรมีการนำไปถ่ายทอดต่อสู่ลูก-สู่เด็ก
ๆ
ทั้งนี้ จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต มีบทความ “เทคนิคการดูแลเด็กติดเกมเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครอง” โดย
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นายแพทย์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ซึ่งก็ถือว่าน่าสนใจสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากให้ลูกหลานต้องเป็นผู้ต้องหาเพราะคลั่งเกม
ในบทความนี้ นพ.บัณฑิตระบุไว้ สรุปได้ว่า... แม้การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ที่นิยมกันในปัจจุบันก็มีประโยชน์อยู่ด้วย นอกเหนือจากการที่เด็กจะรู้สึกไม่เชย เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ คุยโม้โอ้อวดกับเพื่อน ๆ ได้ เพราะเพื่อน ๆ ก็เล่นเหมือนกัน เช่น เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน คลายเครียด หรือทำให้เกิดความภาคภูมิใจเมื่อประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะตามเงื่อนไข ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดในเกมนั้น ๆ ซึ่งก็อาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ในการทำภารกิจบางอย่างให้ประสบความสำเร็จ
แต่...กับความมุ่งมั่นในการเล่นเกมนั้น เป็นความมุ่งมั่นปลอมบนความสบายในสภาพ-ในบรรยากาศสถานที่เล่นเกม ไม่ได้เป็นการต่อสู้กับความยากลำบากเพื่อความสำเร็จที่แท้จริง และที่สำคัญ...การเล่นเกมนาน ๆ การ “ติดเกม-คลั่งเกม” จะเกิดผลกระทบหรือ “โทษ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น