วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครูดีต้องมีอีคิว

ครูดีต้องมีอีคิว

ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ ผมได้มีโอกาสไปจัดการอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการกับอุปสรรคและปัญหาด้วยเทคนิคความฉลาดทางอารมณ์ รวมทั้งการสร้างสรรค์วิธีคิดด้านบวก แก่คุณครูหลายท่าน หลายโรงเรียน ในเขต กทม.โดยเราจัดกันที่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าแถวสุขาภิบาล 3 นี่เอง

          ที่จริงจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ครูส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้ประเด็นของความฉลาดทางอารมณ์ได้ดีทีเดียว แต่เวลานำไปปฎิบัติจริง ๆ นั้นต่างหากที่จะเกิดปัญหา เพราะส่วนใหญ่จะทำไม่ได้อย่างที่เรียนกันมาจากการอบรม หัวข้อการอบรมไม่ว่าจะเป็นการฝึกคิดด้านบวก การจัดการกับอารมณ์ของตนเองให้สร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่ยากลำบาก โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ แต่ในการอบรมครั้งนี้ ก็ทำให้ผมรู้สึกว่า มีคุณครูจำนวนมากทีเดียวที่สามารถเรียนรู้และนำเอาไปทดลองใช้กับตนเองอย่างได้ผล

IT กับการพัฒนาการศึกษา

IT กับการพัฒนาการศึกษา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไอที มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นที่ยอมรับว่าการเติบโตของเทคโนโลยีนี้ ยังเป็นไปตามกฎของมัวร์ (Moore's Law) กล่าวคือ มีอัตราการพัฒนาเป็นสองเท่าทุก ๆ 12-18 เดือน เช่น ความเร็วของซีพียูทำงานได้จาก 10 MHz เป็น 20 MHz ในปี ค.ศ. 1990 ความเร็วของพีซีใช้ซีพียูทำงานที่ความเร็ว 33 MHz จนในปัจจุบันสามารถทำงานได้ถึง 1000 MHz ความจุของฮาร์ดดิสค์ก็เพิ่มจาก 10 MB และเพิ่มมาเป็น 40 MB ในปี ค.ศ. 1990 จนเพิ่มเป็น GB และหลายสิบ GB ในปัจจุบัน 

ไอทีจึงมีผลต่อระบบการศึกษาโดยตรง ไอทีเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรอบรู้ จัดระบบ ประมวลผล ส่งผ่านและสื่อสารด้วยความเร็วสูง และปริมาณมาก นำเสนอและแสดงผลด้วยระบบสื่อต่าง ๆ ทั้งทางด้านข้อมูล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดิโอ อีกทั้งยังสามารถสร้างระบบการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ ทำให้การเรียนรู้ในยุคใหม่ประสบผลสำเร็จด้วยดี

หากพิจารณาการเรียนรู้ในยุคใหม่ ที่มีขุมความรู้มากมายมหาศาล การเรียนรู้ในยุคใหม่ใช้ขุมความรู้ที่เรียกว่า world knowledge แหล่งความรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา มีจำนวนมาก และกระจายอยู่ทั่วโลก การเรียนรู้ในยุคใหม่ต้องเรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว อีกทั้งต้องสามารถแยกแยะ ค้นหา ข่าวสาร ตลอดจนการแสวงหาสิ่งที่ต้องการได้ตรงตามความต้องการไอทีจึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก


บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของไอทีเพื่อพัฒนาการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ การเรียนการสอน ตลอดจนขบวนการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้เน้นการใช้ไอที เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษามากมาย และได้พัฒนาระบบไอทีเพื่อสนองตอบการพัฒนาการศึกษา ซึ่งได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เพื่อการเรียนการสอน โดยเน้นการเชื่อมโยงทุกวิทยาเขตเข้าด้วยกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งข้อมูลการเรียนรู้ข้อมูลการบริหาร ข้อมูลนิสิต และการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเพื่อการศึกษา เครือข่ายของมหาวิทยาลัยจึงเป็นเส้นทางด่วนข้อมูลที่เน้นใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ ทั้งทางด้านการเรียนการสอน งานวิจัย และงานบริการการศึกษา งานบริหารการศึกษา งานจัดการการศึกษา งานติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

ภัยเด็กติดเกม

ห้ามไม่ได้ก็ 'ต้องสอน'
ภัยเด็กติดเกม
กรณีปัญหา เด็กติดเกมทาง สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์นำเสนอไปตอนหนึ่งแล้วสำหรับข้อสังเกตว่าติดหรือไม่? ติดถึงขั้นต้องแก้ไขหรือยัง ? และแนวทางช่วยเด็กให้พ้นภัยติดเกม !! โดยเป็นข้อมูลคำแนะนำของศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ซึ่งในช่วงที่เหล็กกำลังร้อน เพิ่งมีข่าวครึกโครมกรณีเด็กเลียนแบบเกมจนก่อคดีจี้-ฆ่า ก็น่าจะมาดูเรื่องนี้กันเพิ่มอีก
      เป็นข้อมูลคำแนะนำที่สื่อสารไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองและจะให้ดีควรมีการนำไปถ่ายทอดต่อสู่ลูก-สู่เด็ก ๆ
 ทั้งนี้ จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต มีบทความเทคนิคการดูแลเด็กติดเกมเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองโดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นายแพทย์  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ซึ่งก็ถือว่าน่าสนใจสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากให้ลูกหลานต้องเป็นผู้ต้องหาเพราะคลั่งเกม 
     ในบทความนี้ นพ.บัณฑิตระบุไว้ สรุปได้ว่า... แม้การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ที่นิยมกันในปัจจุบันก็มีประโยชน์อยู่ด้วย นอกเหนือจากการที่เด็กจะรู้สึกไม่เชย เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ คุยโม้โอ้อวดกับเพื่อน ๆ ได้ เพราะเพื่อน ๆ ก็เล่นเหมือนกัน เช่น เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน คลายเครียด หรือทำให้เกิดความภาคภูมิใจเมื่อประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะตามเงื่อนไข ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดในเกมนั้น ๆ ซึ่งก็อาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ในการทำภารกิจบางอย่างให้ประสบความสำเร็จ
 แต่...กับความมุ่งมั่นในการเล่นเกมนั้น เป็นความมุ่งมั่นปลอมบนความสบายในสภาพ-ในบรรยากาศสถานที่เล่นเกม ไม่ได้เป็นการต่อสู้กับความยากลำบากเพื่อความสำเร็จที่แท้จริง และที่สำคัญ...การเล่นเกมนาน ๆ การ ติดเกม-คลั่งเกมจะเกิดผลกระทบหรือ โทษ

ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล
ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบ ของมาตรฐานโดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)

เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด

หลักการบริหารหลักสูตร: แนวคิด

หลักการบริหารหลักสูตร: แนวคิด
   การทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้องถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ  โดยมีหลักและแนวคิดที่สำคัญ 9 ประการ ดังนี้
   1. การวางแผนงานหลักสูตร ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกโรงเรียนจะมีทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรเก่า หลักสำคัญในการบริหารหลักสูตรคือจะต้องทำให้ผู้เรียนสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนหลักสูตรให้น้อยและสั้นที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องจัดระบบให้ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน และตระเตรียมทุกอย่างให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

   2. การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารหลักสูตร ระบบข้อมูลโรงเรียนประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้
   * หลักสูตร - ระบบการสร้างหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และการประเมินผล
   
* การบริหารจัดการ - มีข้อมูลด้านผู้เรียน ผู้สอน ว่ามีความพร้อมหรือไม่เพียงใด
   
* ระบบข้อมูล - ครูอาจารย์ นักเรียน บุคลากร ผู้รู้ในชุมชน อาชีพในพื้นที่
   
* การวางแผนกลยุทธ์ 3-5 ปี - แสดงถึงวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  
 * ระบบงบประมาณ - การบริหารงบประมาณจะต้องมีความชัดเจนตรวจสอบได้ มุ่งผลงาน และเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นสำคัญ
   
* การพัฒนาการเรียนรู้ - สื่อและข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล การศึกษาอบรมของครู
   
* ระบบช่วยเหลือ - มีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล จำแนกเด็กเก่ง เด็กปกติ และเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างสอดคล้องกับความจำเป็นต้องการของเด็กแต่ละกลุ่ม
   
* บริหารบุคคล - ข้อมูลเกี่ยวกับครูอาจารย์ ทั้งในด้านการศึกษา การอบรม การจัดหา บรรจุ และเลิกจ้าง เพื่อช่วยในการพัฒนาครูให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรใหม่
  
 * การประเมินภายใน - จัดเตรียมข้อมูลการพัฒนาหลักสูตร บุคลากร และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กและโรงเรียน

   3. เอกสารหลักสูตร จะต้องชี้แนวการสอนอย่างถูกต้อง ชัดเจน และทันสมัย เอกสารประกอบหลักสูตรและรายวิชาที่ละเอียดประณีต จะช่วยให้การบริหารหลักสูตรเป็นไปโดยง่าย สามารถติดตามการทำงานได้อย่างใกล้ชิดและเป็นขั้นเป็นตอน

   4. คณาจารย์มีคุณภาพ  เข้าใจหลักสูตรอย่างดี  เมื่อครูเป็นผู้เขียนหลักสูตรเองแล้ว ย่อมจะทำให้การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรเป็นไปโดยง่าย สามารถปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในห้องเรียนได้

   5. ผู้เรียนมีความพร้อมด้านความรู้พื้นฐานและคุณธรรม ทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม สถานศึกษาจะต้องจัดเตรียมระบบข้อมูลรายบุคคลของผู้เรียน โดยครูผู้สอนทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียนทุกๆ ด้าน

   6. มีทรัพยากรสนับสนุนที่ดีและเพียงพอ การบริหารการศึกษาในอนาคตอันใกล้เป็นการกระจายอำนาจในหลายๆ ด้าน ท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรในการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล แหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน การระดมทรัพยากรจะต้องกระทำอย่างหลากหลายและกว้างขวางขึ้น

   7. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดีและมีประสิทธิภาพ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดเน้นอีกเรื่องหนึ่งคือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะมีสอดแทรกอยู่เป็นระยะๆ ตลอดเวลา บทบาทในเรื่องนี้ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของครูคนใดคนหนึ่ง แต่ครูทุกคนจะมีบทบาทเป็นครูที่ปรึกษาหรือครูแนะแนวได้ โดยเฉพาะครูที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก

   8. มีบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้  ทุกจุดทุกมุมของโรงเรียนและชุมชนเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ไม่ใช่จะต้องเรียนจากตำราอย่างเดียว หากครูเข้าใจก็จะสามารถดึงประสบการณ์ของผู้เรียนเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ได้ การสร้างบรรยากาศทางวิชาการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความเอาใจใส่อย่างสูงจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น การจัดแสดงนิทรรศการหรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในโรงเรียน หากทำให้เป็นปัจจุบันและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำ ก็จะเป็นกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวเด็กได้อีกแหล่งหนึ่ง เช่น นำผลงานของเด็กที่ดีเด่นมาแสดง ทั้งด้านศิลปะ  หรือในโรงอาหาร ติดป้ายให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ เป็นต้น

   9. มีระบบการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรายวิชาจะต้องมาพูดคุยกันในแต่ละภาคการศึกษา และทุกสิ้นปีการศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาก็จะต้องจัดการประเมินผล ดูภาพรวม และเขียนรายงานออกมา เป็นการประเมินภายในไปในตัว เป็นการทำงานที่ผลการปฏิรูปการเรียนการสอนจะไปสู่ตัวผู้เรียนโดยตรง และควรเน้นการประเมินตามสภาพจริง

รูปแบบการสอนใหม่

รูปแบบการสอนใหม่ 

          สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ดำเนินการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำรูปแบบการเรียนรู้ของครูต้นแบบมาวิจัยและพัฒนา   เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาโดยได้คัดเลือกรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 9 รูปแบบ  ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรา 22  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนว่มีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาจากธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ    และมาตรา 24 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติ่ม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545  หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ให้เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด  การฝึกทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  การฝึกปฏิบัติจริง และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหา  โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้สนับสนุนให้ครูต้นแบบวิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษา ผลการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวพบว่า  แนวทางการจัดการเรียนรู้ทั้ง   9  แนวทางสามารถใช้ได้ผลดี ผลการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น  

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่

       

สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่

เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงการเปิดภาคเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2550 นับเป็นการเริมต้นของการก้าวเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ซึ่งครูสอนมีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ และสนุกสนานในการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
            บทความนี้ เป็นการแนะนำวิธีการสอนที่ผู้สอนสามารถนำผู้เรียนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้ ในรูปแบบของการอ่านหนังสือ ที่ไม่เพียงสอนให้ผู้เรียนอ่านหนังสือเพื่อรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่สอนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีโต้ตอบกับผู้เขียนอีกด้วย

            ในอดีตครูผู้สอนที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียนรักษาสิ่งของ มักจะกำชับผู้เรียนเสมอว่า “ห้ามขีดเขียนข้อความใด ๆ ลงในหนังสือ” เพราะจะทำให้หนังสือเลอะเทอะ หรือ ถ้าต้องการเน้นข้อความสำคัญ อนุญาตให้ขีดเส้นใต้เพียงอย่างเดียว” ความคิดเช่นนี้ทำให้ผู้เรียนพลาดโอกาสในการใช้หนังสือเพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ความเข้าใจ ความจำ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคิดสร้างสรรค์